วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระเหรียญ


พระเหรียญ ประเภทเหรียญพระพุทธ และ เหรียญพระคณาจารย์รุ่นเก่าๆพระเหรียญ เหรียญพระเกจิ เหรียญแท้และเหรียญปลอม ดูอย่างไร พระเครื่อง พระเหรียญ ประเภทเหรียญพระพุทธ และ เหรียญพระคณาจารย์ เหรียญพระเกจิรุ่นเก่าๆ มีค่านิยมสูงมาก ทำปลอมใกล้เคียงยิ่งขึ้น ความคมชัดของตัวหนังสือ เส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ด้านข้างขอบเหรียญ เป็นจุดสำคัญ
การศึกษาเรื่องราวของพระเครื่อง ประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์ เหรียญพระเกจิ รุ่นเก่าๆ นั้น มีค่านิยมสูงมาก การทำปลอม จึงพัฒนาวิธีการทำให้ใกล้เคียงกับของเหรียญแท้ยิ่งขึ้น โดยวิธีการที่ง่าย และเป็นที่นิยมที่สุด คือ การนำเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ ซึ่งจะทำให้ได้เหรียญปลอมที่มีจุดตำหนิทั้งด้านหน้าและด้านหลังใกล้เคียงกับ ของจริงมาก
อย่างไรก็ตาม ความคมชัดของตัวหนังสือ เส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ตลอดจนด้านข้างของเหรียญ ก็ยังเป็นจุดสำคัญ ที่สามารถใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่าง ชัดเจนที่สุด
 ในอดีตผู้สนใจศึกษาพระเหรียญ พระเครื่องประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์  เหรียญพระเกจิ หลายคนเลือกที่จะใช้วิธีการจดจำรายละเอียดที่สำคัญของตำหนิเหรียญทั้งหมด ซึ่งในพระเหรียญ 1 เหรียญอาจจะมีจุดตำหนิให้จดจำมากถึง 10 จุด นั่นหมายความว่า หากเราต้องเรียนรู้เหรียญ 100 เหรียญ เราจะต้องจดจำตำหนิทั้งหมดถึง 1000 จุด เลยทีเดียว
 ดังนั้นแทนที่จะใช้วิธีการจดจำตำหนิทั้งหมด ผมกลับมีเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาเหรียญแต่ละเหรียญ ด้วยวิธีการที่ง่ายกว่านั้น นั่นก็คือ

พระเหรียญ การศึกษาธรรมชาติของเหรียญ โดยอาศัยหลักพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่
1.ความคมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์
2.พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก
3.การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติ และ
4.วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย
 ทั้ง 4 ประการนี้ ถือเป็นจุดที่ใช้ในการพิจารณาเหรียญว่าแท้หรือปลอม ได้ชัดเจนยิ่งกว่าการจดจำตำหนิ
 ที่สำคัญยังสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาพระเหรียญ ได้ทุกเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญในยุคสมัยใดก็ตาม เพราะถึงแม้ว่ากรรมวิธีการทำปลอมในปัจจุบันจะสามารถทำได้ใกล้เคียงกับของ จริงแค่ไหน แต่ธรรมชาติของการผลิตเหรียญแต่ละยุค พระเหรียญ เหรียญพระเกจิ ย่อมมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง


ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพระเหรียญ การซื้อ-ขายเหรียญในปัจจุบัน ผู้ชำนาญการจะใช้วิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญเป็นบทสรุปว่า แท้หรือไม่
 เพราะ...ขอบด้านข้างของเหรียญพระ เป็นสิ่งเดียวที่ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน
 เนื่องจากร่องรอยที่ด้านข้างของเหรียญนั้น คือ ร่องรอยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิตในแต่ละยุคสมัย
 อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหรียญพระเครื่องต่างๆ ตามข้อสังเกต 4 ข้อข้างต้นนั้น จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปเช่าหาเหรียญมาศึกษา
 อีกทั้งเหรียญพระเครื่องที่เป็นที่นิยมของวงการ ล้วนแล้วแต่เป็นพระเหรียญ ที่มีราคาแพง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านแทบทั้งสิ้น
 ปัญหาจุดนี้ ผมจึงเสนอแนะแนวทางที่ประหยัดกว่า และน่าสนใจ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาแต่มีทุนน้อย นั่นก็คือ ให้ใช้วิธีไปเช่าเหรียญเก่าที่วงการไม่นิยม และมีราคาไม่แพงแทน เพื่อนำมาศึกษาธรรมชาติของเหรียญที่เกิดจากวิวัฒนาการในการปั๊ม และการตัดขอบเหรียญ ของ เหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์
 เพราะเหรียญพระเครื่องที่ออกมาในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน ย่อมจะมีขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น


 ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ทำความเข้าใจ ผมจึงจำแนกเหรียญพระเครื่องต่างๆ ตามกรรมวิธีการปั๊มตัดข้างเหรียญ โดยแบ่งออกเป็นออก 3 ยุคสำคัญ คือ
  ยุคที่ 1.ประมาณ พ.ศ.2440-2485
  ยุคที่ 2.ประมาณ พ.ศ.2486-2499 และ
  ยุคที่ 3.ประมาณ พ.ศ.2500-ปัจจุบัน
 1. ช่วงปี พ.ศ.2440-2485 เป็นช่วงที่นิยมสร้างพระเหรียญ เหรียญลักษณะรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา ซึ่งรูปทรงเหรียญทั้ง 4 ชนิดนี้ สามารถแยกตามกรรมวิธีการสร้างได้เป็น 2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย และเหรียญชนิดปั๊มข้างกระบอก

โดยเหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย ก็คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้ตามลักษณะรูปทรง ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ
 
ส่วนการปั๊มข้างกระบอก ก็คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้ตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และการปั๊มเหรียญนั้นๆ ดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงมีความเรียบเนียน เนื่องจากการกดปั๊มโดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ
 
อย่างไรก็ตาม บางเหรียญอาจมีเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างเหรียญ ซึ่งเกิดจากการแต่งขอบให้สวยงามก็ได้
 
2. เหรียญชนิดปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดยุคเก่า) เป็นยุคที่เริ่มพัฒนากรรมวิธีการจัดสร้างเหรียญ ด้วยการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น มาใช้แทนกรรมวิธีแบบเก่า ที่ใช้การเข้ากระบอก และต้องเลื่อยขอบออก เพื่อตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย ด้านข้างของเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก
 
3. หรียญปั๊มตัดยุค พ.ศ.2500-ปัจจุบัน ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาตัวตัดข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดขอบเหรียญในจำนวนมากๆ ตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น